ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน หากพลาดแล้ว มีวิธีแก้ไขอย่างไร ให้ไม่ผิดหวังซ้ำสอง

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

โดยปกติแล้ว หลังฉีดฟิลเลอร์ จะมีอาการบวมที่สามารถหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แล้วฟิลเลอร์จะเข้าที่ เรียบเนียนไปกับผิว แต่หากเลยระยะเวลานี้ไปแล้ว ฟิลเลอร์ยังเป็นก้อน ไม่เรียบเนียนไปกับผิว อีกทั้งยังมีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวมมาก หรืออักเสบ แสดงว่าอาจมีปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ ควรพบแพทย์เพื่อแก้ไขและรักษา 

หากอยากรู้ว่าฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เกิดจากอะไร อันตรายไหม มักเกิดกับบริเวณไหนบ้าง มีอาการเป็นอย่างไร ต้องแก้ไขอย่างไร รวมถึงแนวทางในการป้องกันและวิธีดูแลตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ในบทความนี้มีคำตอบค่ะ 


ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เกิดจากอะไร ?

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เกิดจาก
  1. เลือกใช้ฟิลเลอร์ไม่ถูกรุ่น ไม่เหมาะกับบริเวณที่ฉีด 
    ฟิลเลอร์ควรเลือกรุ่นให้เหมาะกับชั้นผิว ถ้านำฟิลเลอร์เนื้อแข็งมาฉีดในผิวชั้นตื้น จะทำให้เห็นฟิลเลอร์เป็นก้อนบวมได้ โดยฟิลเลอร์เนื้อแข็ง มีความคงตัว ควรฉีดเสริมในชั้นชิดกระดูก ส่วนฟิลเลอร์เนื้อละเอียด จะใช้กับผิวชั้นตื้น ฉีดแล้วเรียบเนียน ไม่เป็นก้อน
  2. ใช้เทคนิคการฉีดไม่ถูกต้อง 
    ฉีดฟิลเลอร์ไม่ตรงกับตำแหน่งที่มีปัญหา เช่น ฉีดแก้ไขริ้วรอยลึกเกินไป หรือฉีดเติมร่องลึก แต่ฉีดตื้นเกินไป รวมถึงการใช้ปริมาณฟิลเลอร์ไม่เหมาะสมเกินความจำเป็นในจุดที่ต้องการฉีด
  3. ใช้ฟิลเลอร์ปลอมหรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน 
    ใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่าน อย. เป็นฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายไปเองได้ตามธรรมชาติ ราคาถูก ไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจะจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ฟิลเลอร์ไหลย้อย ไม่เป็นทรง ต้องขูดออกหรือศัลยกรรมผ่าตัดออกเท่านั้น ไม่มีตัวยาที่นำมาฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ ดังนั้นห้ามฉีดเด็ดขาด
  4. แพทย์ที่ฉีดให้ไม่มีความชำนาญทางด้านการฉีดฟิลเลอร์ 
    แพทย์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์แต่ละชนิดที่นำมาฉีด โครงสร้างสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ (Human anatomy) รวมถึงศิลปะการออกแบบการปรับรูปหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาอย่าตรงจุด เห็นผลลัพธ์คุ้มค่าที่สุด แพทย์ที่ขาดความรู้และประสบกาณ์จะทำให้มีความเสี่ยงในการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน อันตรายไหม ?

หากฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เพราะความไม่ชำนาญของแพทย์ แต่ฉีดโดยใช้ฟิลเลอร์แท้ ที่เป็นสารเติมเต็มผิวประเภทไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic Acid : HA) สามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ให้ผิวกลับมาเรียบเนียนเหมือนเดิม โดยที่ไม่เป็นอันตราย

แต่คนส่วนใหญ่ที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มักมีสาเหตุมาจากการเข้ารับบริการกับคลินิกที่ใช้ฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายเองได้ เช่น Polyamine (Aqualift), Hydrofilic gel เมื่อฉีดเข้าไปจึงทำให้ดูเป็นก้อน และเสี่ยงทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นตามมา

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน อันตรายไหม

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มักพบบ่อยที่ตำแหน่งใดบ้าง ?

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มักเกิดขึ้นบ่อยบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ ดังต่อไปนี้ 

  1. ฟิลเลอร์ใต้ตา

เนื่องจากเป็นจุดที่ผิวบาง หากฉีดฟิลเลอร์ในผิวชั้นที่ตื้นเกินไป จะทำให้ฟิลเลอร์นูนขึ้นเหนือชั้นกล้ามเนื้อ มองเห็นเป็นก้อน บวม ย้อย หรือเห็นเป็นถุงใต้ตาได้

ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน
  1. ฟิลเลอร์คาง 

มีจุดที่ต้องระวังคือกล้ามเนื้อบริเวณคาง หากฉีดฟิลเลอร์ตื้นเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อดึงฟิลเลอร์คางมารวมกันเป็นก้อน ทำให้เวลาพูด เวลายิ้ม จะเห็นคางย้อย คางยาวแหลมคล้ายคางแม่มด ดูผิดรูป

ฉีดฟิลเลอร์คางแล้วเป็นก้อน
  1. ฟิลเลอร์ปาก 

ต้องระวังในการคำนวณปริมาณฟิลเลอร์ หากฉีดมากไปจะทำให้ปากออกมาอวบอิ่มเกินพอดี ใหญ่ เจ่อ และดูไม่เป็นธรรมชาติ

ฉีดฟิลเลอร์ปาก บวม เป็นก้อน
  1. ฟิลเลอร์หน้าผาก 

ปัญหาที่พบบ่อยคือฟิลเลอร์เป็นคลื่น เพราะฉีดฟิลเลอร์ในชั้นผิวที่ตื้นเกินไป เมื่อเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้หน้าผากไม่เรียบเนียน หรือฉีดออกมานูนเกินไป ดูไม่สมมาตรกับใบหน้า

ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากแล้วเป็นก้อน

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน มีอาการอย่างไร ?

  1. ในกรณีฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม ที่เกิดจากฟิลเลอร์อักเสบ ติดเชื้อ อาการที่เกิดขึ้น มีดังนี้ 
    • มีอาการปวด บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์มากขึ้น มากกว่าปกติ
    • บริเวณผิวหนังที่ฉีดฟิลเลอร์ บวมขึ้นเรื่อย ๆ
    • ผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เป็นสีแดงหรือคล้ำ ผิดปกติ 
    • ลองใช้หลังมือแนบบริเวณผิวหนังที่ฉีดฟิลเลอร์ แล้วร้อน  
  1. ในกรณีฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ผิวไม่เรียบเนียน ที่ไม่ใช่การติดเชื้อ สามารถสังเกตได้หลังจากฉีดฟิลเลอร์ผ่านไป 3-4 สัปดาห์ อาการที่เกิดขึ้น มีดังนี้
    • ผิวเป็นก้อน ไม่เรียบเนียน ในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ 
    • หลังฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าดูไม่เป็นธรรมชาติ
    • หลังฉีดฟิลเลอร์แล้วไม่ชอบ ไม่สวย ผลลัพธ์ไม่เป็นที่ต้องการ

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน แก้ไขได้อย่างไรบ้าง ?

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน สามารถแก้ไขได้ 3 วิธี ขึ้นอยู่กับว่าก่อนหน้านี้ เคยใช้ฟิลเลอร์ชนิดใดฉีดเข้าไปแล้วบ้าง 

  1. ฉีดสลายฟิลเลอร์ : เหมาะสำหรับ ผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์แท้ 
    หากฟิลเลอร์ที่ฉีดมาเป็นฟิลเลอร์แท้ HA (Hyaluronic Acid) สามารถใช้ตัวยาไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase:HYAL) ฉีดเพื่อสลายฟิลเลอร์ได้ โดยที่ก่อนฉีดต้องแจ้งกับแพทย์ว่า เคยฉีดฟิลเลอร์มากี่ CC ? ใช้ยี่ห้อไหน รุ่นไหน จากนั้นแพทย์จึงจะคำนวณปริมาณตัวยาที่เหมาะสมเพื่อฉีดสลาย ไม่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ หลังฉีดจะเห็นผลทันทีในบางส่วน และจะเห็นผลต่อเนื่องจนผิวกลับมาเรียบเนียน ภายในเวลา 1-3 วัน หากต้องการฉีดฟิลเลอร์เข้าไปใหม่ ควรเว้นระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังฉีดสลายไปแล้ว
ตัวยาฉีดสลายฟิลเลอร์
ตัวยาไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase:HYAL)
  1. การขูดฟิลเลอร์ : เหมาะสำหรับ ผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอม  
    หากฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ใช่ HA (Hyaluronic Acid) จะไม่สามารถสลายเองได้ เช่น Polyamine (Aqualift), Hydrofilic gel เมื่อขูดฟิลเลอร์ที่เป็นก้อนออก อาจจะขูดออกได้เพียง 60-70% เท่านั้น ไม่สามารถเอาออกได้หมด 
  1. การผ่าตัด : เหมาะสำหรับ ผู้ที่เคยใช้ฟิลเลอร์ประเภทซิลิโคนเหลวฉีดมาก่อน หรือผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์มานานจนเป็นพังผืดเกาะ จะมีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก การผ่าตัดส่วนใหญ่จะไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกได้หมด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ฉีดมา เนื่องจากต้องระวังทั้งเรื่องของเส้นประสาท และเส้นเลือดสำคัญต่าง ๆ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมในโรงพยาบาลให้เป็นผู้ทำการแก้ไข
การผ่าตัดนำฟิลเลอร์ที่เป็นก้อนออก

วิธีป้องกัน ไม่ให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงในการที่จะช่วยป้องกันปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน คือ ก่อนฉีดฟิลเลอร์ควรศึกษา หาข้อมูล ของแต่ละคลินิกที่สนใจอย่างละเอียด โดยสามารถสังเกต ได้ดังนี้

  1. เลือกฉีดฟิลเลอร์กับคลินิกที่ใช้ฟิลเลอร์แท้เท่านั้น ฟิลเลอร์ปลอมหากฉีดแล้วจะไม่สามารถสลายเองได้ เสี่ยงต่อการเกิดฟิลเลอร์เน่า ฟิลเลอร์ไหล บวมเป็นก้อน สำหรับฟิลเลอร์ที่ฉีดแล้วปลอดภัยคือฟิลเลอร์ชนิด HA ( Hyaluronic Acid ) ที่เป็นฟิลเลอร์แท้ผ่าน อย. เพราะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ภายในระยะเวลา 1-2 ปี หากฉีดแล้วไม่พอใจก็ฉีดสลายได้ หรือฉีดเพิ่มได้เรื่อย ๆ ไม่มีผลข้างเคียง
  2. เลือกฉีดฟิลเลอร์กับคลินิกที่เปิดให้บริการอย่างถูกต้อง มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย มีการแสดงภาพถ่าย ชื่อ และเลขที่ใบอนุญาตของผู้ประกอบการไว้ในที่เห็นได้ชัดเจน และแพทย์ผู้ทำการรักษาต้องเป็นคนเดียวกับป้ายที่ติดไว้
  3. เลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง ข้อนี้สำคัญมาก ๆ เพราะแพทย์ที่มีประสบการณ์จะสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาใบหน้าของคนไข้แต่ละคนได้ตรงจุด หากแพทย์ไม่มีประสบการณ์มากพอ แก้ไขผิดวิธี อาจจะยิ่งทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนได้

การดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์ เพื่อป้องกันการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

วิธีดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์ เพื่อป้องกันการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน
ขอบคุณข้อมูลภาพจาก V Square Clinic
  • ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ และสม่ำเสมอ 1.5 – 2 ลิตร ต่อวัน เพื่อให้ฟิลเลอร์อยู่ได้นาน
  • ควรหลีกเลี่ยงความร้อนและกิจกรรมที่ทำให้หน้าแดง อย่างน้อย 24 ชั่วโมง 
  • งดเลเซอร์ร้อน ที่ลงลึกถึงชั้นผิว เช่น RF thermage เป็นเวลา 1 เดือน หลังฉีดฟิลเลอร์มา
  • หลีกเลี่ยงการขยับ บีบ นวด แกะ เกา บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์
  • งดหมูกระทะ ปิ้งย่าง ชาบู อาหารหมักดอง หรืออาหารดิบ
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด 
  • งดการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารหลายชนิดที่ขยายหลอดเลือด จะทำให้ยุบบวมช้า และผลการรักษาอยู่ได้สั้นลง

สรุป

หากฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน สามารถแก้ไขได้ โดยที่ไม่เป็นอันตราย แต่เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาหลังฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ก่อนจะไปฉีดฟิลเลอร์ที่ไหน เราควรให้ความสำคัญกับการหาข้อมูล ในการเลือกคลินิกอย่างละเอียด ใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่าน อย. รวมถึงทำการฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง เพื่อหลังฉีดจะได้สวยแบบไร้กังวล นอกจากนั้นยังไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงแบกรับกับความผิดหวัง